Blogs
(ตอน2) live สดกับน้องโบว์ เรียน + ฝึกงานตลอด 3 ปีที่เรียน BHMS ในสวิตเซอร์แลนด์
(ตอน 2)
น้องโบว์: ส่วนปี 2 หนูก็ทำงานที่เอ่อซูริคค่ะเป็นร้านอาหารจีนก็คือสอนแบบมันก็ได้ได้เรียนรู้เรียนรู้ว่าแบบมันไม่จำเป็นต้องแบบเอ่อพูดภาษาเยอรมันได้ขนาดนั้นเพราะว่าอย่างที่บอกว่าปี 1 หนูทำงานแบบมันอยู่ค่อนข้างข้างหลังแทบจะไม่ค่อยได้เจอใครไม่ค่อยอะไรอะไรอย่างเงี้ยค่ะ แต่พอปี 2 เนี่ย เริ่มมาแบบว่าเซอร์วิสเต็มตัวแล้วแบบ full Time Job เลยอะไรอย่างนี้ก็ ก็เลยเป็นฟีลว่า อืม ได้เรียนรู้แบบว่าบางคนเขาก็เอ่อแต่ว่าร้านหนูเนี่ยส่วนใหญ่จะเป็นเอเชียหมดเลย เราก็จะรู้ได้รู้ว่าแบบวิธีการแบบปฏิบัติอะไรอย่างเงี้ยค่ะแบบว่าทำงานจริง ๆ มันเป็นยังไง การเดินเท้าขวิดมันเป็นยังไงเลย แล้วก็รวมถึงแบบว่าที่ร้านเขาแบบขาย bubble tea ด้วย มันก็ทำให้เราได้รู้ว่าแบบเวลาทำ cocktail เอ้ย เวลาทำ bubble tea เนี่ยทำยังไง รวมเค้ามี cocktail ด้วยค่ะ ก็ได้รู้ว่าแล้วก็เนื่องจากว่าแบบเอ่อร้านเนี้ยเค้ารับแค่คนเอเชียค่ะ แบบว่าซึ่งมันก็เลยแบบมีการแบบความอะไรหลากหลายนิดนึงในการของแบบ Personal อะไรอย่างเงี้ยค่ะซึ่งเราก็ต้องดีลให้ได้รวมถึงก็คือเนื่องจากว่ามันเป็นแบบ Business Family อ่ะค่ะ บางทีเราก็ยังแบบสับสนอยู่ว่าอะไรยังไง เดี๋ยว ๆ เจ้าของร้านก็บอกว่าอันนี้คนนี้ไม่เป็นไรหรอกไม่ต้องคิดเงินก็ได้นี่ก็โอเคเอ่อโอก็ก็งง ๆ อยู่ว่ากินยังไงคิดไม่คิดเงินแต่ก็โอเคค่ะ อะไรอย่างเงี้ยก็คือแบบต้องมีไหวพริบมากขึ้นในการแบบว่าคนนี้คนนี้เพื่อนคนนี้ เพื่อนบอสหรือเปล่าอะไรอย่างเงี้ย แบบเขาจะมีความแบบพิเศษไปอีกขั้นอะไรฟีลประมาณนั้นอ่ะค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S : เอ้ยแต่พี่ชอบอันแรกนะ อันนี้พี่ได้เรียนรู้จากน้องโบว์ด้วยคือแบบว่าอันที่น้องโบว์บอกอ่ะว่าคนทำงานเนาะอย่างเมืองนอกอ่ะเค้าให้ความสำคัญกับทุกคนเนาะ อย่างอันแรกเลยที่บอกว่าถึงแม้เราจะเป็นเหมือนฟันเฟืองเล็กๆ อ่ะ แต่ฟันเฟืองเล็กๆ ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เนาะน้องเกลเนาะ ก็คือเป็นสิ่งที่เหมือนกับกระดูกสันหลังอ่ะ ที่ทำให้ฝ่ายอื่นๆ เขาทำงานกันได้เป็นระบบเนาะ อันที่ 2 เนี้ยที่น้องโบว์เล่าให้ฟังก็ทำร้านอาหารแต่บางคนอาจจะคิดว่า เอ้ย ไปทำร้านอาหารทำไมเมืองไทยก็มี แต่อย่าลืมนะว่าการที่ทำร้านอาหารที่สวิสเนี่ย แน่นอนข้อแรกเลยเงินเดือนไม่ถูก อันนี้เราไม่พูดถึงเงินเดือนตอนนี้ละกันเดี๋ยวให้พี่เกลถามเนาะ ก็คือเราได้เรียนรู้ Operation เนาะ ได้เรียนรู้ตั้งแต่เรับออเดอร์กันยังไงทำอะไรจนถึงขั้นได้ลงมือทำเองด้วย อันนี้ก็จะเป็นสิ่งสำคัญที่ถ้าเกิดเราอยากจะเปิดธุรกิจร้านอาหารเนี่ยก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรรู้ Operation ตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รู้จากแค่ในตำราเนาะ แล้วตอนนี้เนี่ยเห็นน้องโบว์แต่งตัวงดงามแล้วตอนนี้ทำงานอะไรอยู่
น้องโบว์: ตอนนี้อยู่ Marriott Zurich ค่ะ เป็นโรงแรม 5 ดาว ก็ Marriott
พี่กิ๊ก B.H.M.S: อันนี้พึ่งเริ่มไปเมื่อไหร่จ้ะ
น้องโบว์: เมื่อต้นเดือนค่ะ วันที่ 1 ตุลาค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: อ๋อ ก็สดๆ ร้อนๆ เนอะ เริ่มปรับตัวได้รึยังเอ่ย
น้องโบว์: ก็ค่อนข้างยากอยู่นิดนึงนะคะ เพราะว่าอย่างที่บอกว่าตอนที่อยู่ปี 2 เนี่ยทำงานเป็น family Business อ่ะค่ะ แล้วพอปีนี้มาปุ๊บเราก้าวขึ้นมาเป็นโรงแรม 5 ดาวเลยมันก็เลยค่อนข้างเอ่อยังปรับตัวไม่ค่อยได้เท่าไหร่ แต่ว่าโดยรวมๆ แล้วหนูทำรูมเซอร์วิสอ่ะค่ะ มันก็เลยไม่ได้ยากมากเท่าไหร่เท่าไหร่นะ แบบว่าอาจจะแค่มันจะมีปัญหาตรง Marriott Standard อ่ะค่ะ ซึ่งก็คือกำลังพยายามปรับอยู่เพราะว่าก็อย่างที่รู้ว่า 5 ดาว มันก็ต้องมีความแบบ Standard นิดนึง อะไรประมาณเนี้ยค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: ก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรแล้วก็ระบบของเค้าเนาะ ว่า Marriott Standard เนี่ยก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วโลก ใช่ไหมคะ พี่เกลมีคำถาม ถามอะไรเพิ่มเติมไหม
York: ทีนี้อยากรู้ว่าแบบ เราผ่านประสบการณ์ในเรื่องของทั้งการเรียน และการฝึกงานมาแล้วใช่ไหม คือพี่อยากรู้ว่าแบบจากประสบการณ์เนี้ย ที่เราได้เรียนอ่ะค่ะกับทาง B.H.M.S อยากรู้ว่าแบบ B.H.M.S เนี้ย การเรียนของเค้ามีประโยชน์ยังไงในการให้เราได้สามารถใช้ชีวิตจริงๆ ใช้ในการฝึกงานจริงๆ ในอุตสาหกรรมการทำงานจริงของเรา
พี่กิ๊ก B.H.M.S: ใช่ๆ น้องโบว์แล้วตอนเรียนเราออกมาทำงานตรงนี้เนี้ย การที่เรียนกับโรงเรียนเรา B.H.M.S เราเอาไปใช้ประโยชน์ตอนฝึกงานได้จริงไหมจ้ะ
น้องโบว์: ใช้ได้จริงค่ะ เพราะว่าส่วนใหญ่เค้าจะอย่างเช่น ปี 1 ปี 2 เนี่ย เค้ามีคลาสเซอร์วิสค่ะ เป็นแบบว่า ก็คือเสิร์ฟแบบเก็โต๊ะเก็บจานเสิร์ฟในโรงเรียนอ่ะค่ะ ให้นักเรียนด้วยกัน ซึ่งคือมันทำให้เราแบบว่าพอปี 2 กับ ปี 3 เรารู้ว่าการถือจานมันต้องถือยังไง การเสิร์ฟมันต้องเสิร์ฟยังไง เราต้องวางช้อนส้อมแบบ category ยังไงหรือแบบว่าถ้าเราแบบจะวางแก้วไวน์แก้วอะไรอย่างเงี้ยค่ะ เป็นยังไง แล้วก็รวมถึงว่า อย่างเช่น เค้ามีสอนเขามีสอนตั้งแต่แบบตอนปี 2 ก็คือมี House keeping เป็นวิชาใช่ไหมมคะ ก็คือสอนเลยว่าแบบขัดห้องน้ำงอหลังกี่องศาให้ไม่ปวดหลังอ่ะค่ะ ฟีลนั้นด้วย ก็คือแบบใช้ได้จริงแน่ ๆ ค่ะ แล้วก็มีพวก Strong Point weakness หรือแบบพวกโอกาสค่าเสียโอกาสอะไรอย่างเงี้ยซึ่งแบบมันก็ทำให้เรามาคิดเวลาแบบอย่างเช่น ตอนเราจะเลือกฝึกงานเค้าก็จะมีตัวเลือกค่อนข้างหลายตัวอยู่ เราก็จะต้องมานั่งคิดว่าข้อดีของมันเนี้ยความแข็งแกร่งของเราคืออะไร แล้วถ้าเราไปอยู่ตรงนั้นเราจะทำไหวไหม ข้อเสียของเราคือแบบ อย่างเช่นบางคน อย่างเช่นหนูค่อนข้างไม่ค่อยเข้าได้กับความกดดัน แต่ว่าถ้าเกิดว่ามันแป็น Standard เป็นแบบว่าไม่เกินไปอ่ะค่ะ Standard เค้ามี เราไม่ชอบกดดันแต่ว่าถ้าเราทำหน้าที่ของเรา อย่าง Marriott เนี่ยถ้าเราทำหน้าที่ของเราคนอื่นก็พูดอะไรไม่ได้เพราะมันก็เป็นแบบหน้าที่ของใครหน้าที่ของมันอะไรอย่างเงี้ยค่ะ ก็เลยเหมือนแบบมันเข้ากับเรามากกว่ามั้ย ซึ่ง strong ของหนูก็คือแบบหนูสามารถทำนู่นทำนี่แบบเดินได้เร็วหรือแบบพูดคุย สามารถแบบสั่งงานแล้วก็ทำได้เลย มันก็แบบมีโอช่วยว่าแบบเราจะเลือกงานหรือว่าแบบถ้าเราจะทำอะไร มันสามารถใช้จริงค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: ก็เหมือนที่เราบอกกันตลอดว่าการเรียน B.H.M.S เนี่ย เรียนแล้วก็ฝึกงานเสร็จเนี่ย พอเราจบได้รับปริญญาตรี 2 ใบแล้วเนี่ย เราก็มีประสบการณ์ ด้วยประสบการณ์ทำงานเราก็คือพร้อมเข้าไปทำงานได้เลยในอุตสาหกรรมเนาะ ทีนี้พี่ขอถามเผื่อนักเรียนสายบริหารบ้าง เพราะว่าก็มีนักเรียนสายบริหารมาติดต่อพี่เกลเนาะ แล้วพี่เกลชอบมาถามพี่ นะจ้ะ อย่าง B.H.M.S เนี่ย เราเป็นโรงเรียนการโรงแรมแต่ในขณะเดียวกันเราก็เป็น โรงเรียน Business School บริหารธุรกิจ ก็อยากถามน้องโบว์ว่าจากการที่น้องโบว์ได้เรียนมาเอง ปี 1 ปี 2 ที่ B.H.M.S เรามีวิชาการบริหารธุรกิจให้เรียนด้วยเนาะ ไม่ใช่เฉพาะวิชาเกี่ยวกับ Hospitality หรือว่าการโรงแรมหรือการบริการ ดังนั้นแล้วเนี่ย วิชาที่เราได้เรียนเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจน้องโบว์คิดว่าเพียงพอไหม เราได้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างดีกว่าเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ และก็เพียงพอไหมที่จะไปประกอบธุรกิจหรือว่าไปทำงานในสายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ Hospitality จ้ะ
น้องโบว์: อ๋อ ก็มีนะคะ เพราะว่าตั้งแต่ ปี 1 ปี 2 ปี 3 เนี้ย ก็อย่างที่บอกไปว่าก็ตั้งแต่คำนวณเลขว่าถ้าเรามีธุรกิจของเราเองเนี่ย เราจะใช้ค่าใช้จ่ายยังไงจะได้กำไรจะล้มละลายมั้ย หรือว่ามันก็จะมีอีกอันนึงก็คือโปรเจคของปี 3 Hospitality ของหนูเนี่ยมันจะมีตัวนึงที่ว่าเค้าบอกว่าเนี่ยตึกๆ นี้นะคุณสามารถทำอะไรกับตึกนี้ก็ได้นะ คุณจะเป็นห้างสรรพสินค้า คุณจะเป็นอพาร์ทเมนต์ คุณจะเป็นโรงแรม คุณจะเป็นอะไรก็ได้ แต่ว่าคุณจะต้องมีตรีมนะคุณจะต้องแบบว่าไม่จำกัดงบนะ คุณสามารถบอกมาได้เลยว่าคุณจะเปลี่ยนอะไรเฟอร์นิเจอร์ Built-in คุณจะเป็นยังไง แล้วแต่ละชั้นของตึกคุณจะอะไรยังไง มันก็เลยจะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าถ้าเราจะมีธุรกิจ ๆ หนึ่ง ถ้าเราจะสร้างตึก ๆ หนึ่งขึ้นมาเนี่ย เราจะต้องมีอะไรบ้าง ค่ะ ก็คืออันนี้สำหรับปี 3 แต่ว่าปี 1 ปี 2 หนูจะไม่มั่นใจแต่ว่ามีแน่ ๆ ค่ะ แบบว่าให้เราไปหาธุรกิจว่าถ้าเราจะทำธุรกิจ ๆ หนึ่ง มันจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รวมถึงรายละเอียดดีเทลต่าง ๆ อ๋อ แล้วก็ปี 3 ก็จะมีแบบว่าสัมภาษณ์ธุรกิจค่ะ ของหนูนะ Hospitality ก็เป็นสัมภาษณ์ธุรกิจเป็นวิดีโอ ว่าเจ้าของธุรกิจเนี้ยเค้ามี vision ยังไงบ้างอะไรอย่างเงี้ยค่ะ ฟีลประมาณนี้ค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: ก็คือนอกจากเราจะสามารถทำงานเป็นพนักงานในองค์กรได้แล้ว หรือเติบโตได้ในองค์กรนั้น เราก็สามารถเป็นผู้ประกอบการได้ด้วยเนาะ Entrepreneur อ่ะเนาะ
York: ทีนี้พูดถึงฝึกงานแล้ว อยากถามนิดนึงว่าตอนฝึกงานมันจะมีได้ค่าตอบแทนหรือว่าได้ benefit อะไรบ้างในการฝึกงาน
น้องโบว์: ก็คือของหนูเนี่ย ก็อย่างที่หนูบอกก่อนว่า ต้องเริ่มก่อนว่าปี 1 แต่ว่าทุกคนเนี่ยประมาณถ้าหนูจำไม่ผิด โดยมาตรฐานแล้วมันจะประมาณ 2,200 ฟรังค์ เท่าไหร่เนี่ยแหละค่ะต่อเดือนนะคะ ก็ 60,000-70,000 อยู่ แต่ว่าทีนี้ปัญหาคือมันขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนเนี่ยทำงานอะไร เพราะอย่างหนูในส่วนตัวของหนูปี 1 หนูทำที่คลินิก เป็นคลินิกกายภาพบำบัดก็คือค่าคล่องเนี่ยทางเค้ามีให้ค่ะ ก็คือ 300 ฟรังค์ ดังนั้นเนี่ยหลังจากที่เราหักค่า tax ค่ากินนิดๆ หน่อยๆ ตัดออกเนี่ย โดยรวมแล้วเราก็ได้เงินสุทธิประมาณ 1,600 ฟรังค์ค่ะ ซึ่งก็คือ 1,600 ฟรังค์ ก็ 40,000 -50,000 อยู่ค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: อันนี้ขอเสริมนิดนึงนะว่าตอนนี้ปีหน้ารัฐบาลสวิสเขาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วจะเป็น 2,303 ฟรังค์ เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อนะ ส่วนของเราอยู่ที่ไทยก็ต่อสู้กันไปเองแต่ว่าเดี๋ยวน้องโบว์ก็จะได้เงินเพิ่มขึ้น อ๋อเเมื่อกี้งานแรกน้องโบว์เหลือเงินเก็บที่ 1,600 กว่าฟรังค์ Oh my god เยอะมาก แล้วงานที่ 2 เหลือเก็บไหมเนี้ย
น้องโบว์: ไม่ค่ะ งานที่ 2 ก็คือดี แต่เนื่องจากว่างานที่ 2 มันเป็นร้านอาหารค่ะ ก็เลยแบบมีทิปนิดนึงบ้างค่ะ ร้านเขาแบ่งแล้วก็เอ่อแต่ว่าเนื่องจากว่าเราย้ายมาซูริคอ่ะค่ะ ซูริคมันเป็นแบบเมืองธุรกิจของสวิตเซอร์แลนด์ถูกมั้ยคะ รองลงมาจากเบิร์นเมืองหลวง ก็ค่าของกินของใช้ค่าครองชีพมันก็ค่อนข้างสูงอ่ะค่ะ แต่ว่าคือเราเนี่ยได้เงินแล้วก็คือทางร้านอาหารเนี่ยเค้าตัดเงินค่าอาหารไปแล้ว รวมถึงเราเช่าหอของร้านอาหารอ่ะค่ะ เจ้าของเค้ามีตึกอยู่ตรงข้ามร้านเลยค่ะ แบบว่าเดินอ่ะ ตื่นเช้ามาทำงาน 10:30 น. 10: 20 น. ตื่นล้างหน้าแปรงฟัน เปลี่ยนชุด เดินออกมา 10 : 25 น. ยังมาก่อนเวลางานเลย ประมาณนี้เลยค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: นี่แหละคุณภาพชีวิต
น้องโบว์: เค้าจะก็จะประมาณ อ่าแต่ค่าห้องประมาณ 550 ฟรังค์ มั้งคะ ก็คือหาราคานี้ในซูริคไม่ง่ายนะคะพี่ หายากมาก เพราะว่าส่วนใหญ่ราคาในซูริคก็ค่อนข้างจะแพง โดยรวมก็เงินที่ได้รวมทั้งหมดต่อเดือน ประมาณ 1,400 – 1,500 อ่ะค่ะประมาณนี้ 1,406 อะไรอะไรสักอย่างค่ะ แต่ว่าไม่รวมเงินทิปนะคะ เงินทิปเนี่ยเค้าให้รู้สึกจะเป็นทุก week ค่ะ แต่ week ก็ขึ้นอยู่กับว่าถ้าวันไหนเค้ามีแบบว่าโต๊ะมาเป็นกลุ่มอ่ะค่ะแบบ 20-30 คนอย่างเงี้ย เค้าก็จะค่อนข้างให้ได้เยอะหน่อย ประมาณเดือนละ 100 – 200 ฟรังค์นะคะ เป็นทิป แค่ทิปนะคะ อันนี้คือหารแล้วแบบเด็ก 4 คนที่ทำงานในร้านอ่ะค่ะ แล้วก็ตอนนี้ปี 3 ก็คือพึ่งเริ่มทำงานก็เลยยังไม่ค่อยได้เท่าไหร่ แต่ว่าเนื่องจากว่าซูริคอ่ะเนาะ อย่างที่บอกว่ามันแพง แล้วทีนี้เราทำMarriott ซึ่งมันก็ ห้องพักอ่ะค่ะมันค่อนข้างราคาสูงกว่าแต่ว่ามันเป็นหอพักของ Marriott เหมือนกัน ซึ่งราคาก็ 600 กว่าๆ ก็คือ100 , 200 อ่ะค่ะ ต่างกันเล็กน้อย โดยรวมแล้วเราก็ได้เงินเดือนที่นี่หนูได้ประมาณ 1,400 ค่ะ ที่ Marriott เท่าที่เหลือนะคะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: 1,400 ใช่ไหมจ้ะ
น้องโบว์: ใช่ค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: แล้วก็อีกอย่างที่อยากจะไฮไลท์เพราะว่าหลายคนจะชอบเข้าใจผิดว่าเอ๊ะ เราไปฝึกงานเนี่ยทำงานร้านอาหารได้เงินเดือนน้อยกว่า ทำงานโรงแรมหรูถึงได้เงินมากกว่าเนาะ ที่จริงมันไม่ใช่ใช่ไหมคะ น้องโบว์ เพราะว่าเงินเดือนขั้นต่ำมันเท่ากันหมดเนาะ
น้องโบว์: ไม่ใช่ค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: เพราะว่าอย่างที่น้องโบว์เล่าห้ฟังใช่ไหมจ้ะ อย่างเช่นที่คลินิกน้องโบว์ก็ได้เหมือนกับว่าได้เงินช่วยเหลือแล้วก็ได้เช่าหอ ที่พักแล้วก็อาหารที่ไม่แพง แล้วก็ Marriott เค้าก็จะมีของพนักงานที่ราคาก็สมเหตุสมผลมากกว่าที่พักที่อื่นในซูริคเนาะ ให้น้องโบว์ช่วยเสริมตรงนี้นิดนึงเพราะบางคนเค้ากังวงใจมากเพราะฉะนั้นหลายคนก็เลยเวลาจะไปสวิสเนี่ย ต้องฝึกโรงแรมหรูเท่านั้น จะได้เงินเดือนเยอะๆ อะไรอย่างงี้เนาะ
น้องโบว์: สำหรับในความคิดหนูนะคะ คือไม่อยากให้คิดว่าอย่างเช่นถ้ามาปี 1 ปี 2 ปี 3 เหมือนหนูเนี่ย ไม่อยากให้คิดว่ามาเพื่อโรงแรมหรูอ่ะค่ะ เพราะว่า โอเคโรงแรมหรูมันก็ได้ชื่ออ่ะค่ะ แต่ว่าเนื่องจากการทำงานอ่ะค่ะมันจะเป็นแบบ เหมือนการทำงานโรงแรมหรูมันก็จะไม่เหมือนการทำงานแบบถ้ากิจการของเราเองแล้วเราทำอ่ะค่ะ ถูกไหมคะ เพราะว่าอย่างของหนูเนี่ย หนูเริ่มตั้งแต่เป็นฟันเฟืองเล็กๆ แล้วพอปี 2 มา เราเริ่มมาทำงานร้านอาหา ซึ่งแน่นอนว่าร้านอาหารที่มันเป็นร้านอาหารแบบ local ร้านอาหารจีนที่ต่างประเทศเนี่ย มันก็คือยุ่งวุ่นวาย สำหรับในความคิดหนูนะคะ ถ้าเกิดว่าทำงานร้านอาหารไหวอ่ะค่ะ โรงแรมก็คือแบบเบสิคเลย เพราะทุกขั้นตอนเค้ามีแบบแน่นอน แต่ร้านอาหารก็คือแบบบางทีคนโต๊ะอื่นเค้าอาจจะยกมือแล้วเราก็แบบไปก่อนอะไรแบบนี้ ถ้าเรารับมือตรงนี้ได้พอเราทำงานโรงแรม อย่างตอนนี้เราทำงานโรงแรมเป็นรูมเซอร์วิส ก็แทบจะแบบรับอาหารส่ง รับอาหารส่ง เคลียร์นู่นนี่นั่นคือแบบมันแทบจะไม่ต้องลำบากไม่ได้อะไรเลยค่ะ ซึ่งก็คืออย่างที่บอกว่าปี 3 ก็คือแบบทำงานมาเยอะแล้วก็ขอพักผ่อนแบบชิว ๆ กับงานหน่อย อะไรฟีลเนี้ยค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: ก็เนาะการฝึกงานเราก็แนะนำว่าใครที่มาฝึกสวิสเนี่ย โอกาสที่ได้ไปฝึกที่สวิสทั้งทีเนาะเพราะสวิสเนี่ยเป็นประเทศที่เขาไม่ใช่อยู่ดี ๆ เปิดรับน้องฝึกงานนะน้องเกล เค้าจะต้องเรียนแล้วก็ถึงจะได้ฝึกงานของประเทศเขานะคะ มันไม่เหมือนประเทศอื่นที่มีโครงการไปเพื่อฝึกงานโดยเฉพาะ อันนี้ต้องขอย้ำอีกทีหนึ่ง เพราะหลายคนชอบมาติดต่อว่าอยากไปสวิสไปฝึกงานเท่านั้นไม่ได้นะคะ ต้องเรียนด้วยใช่มั้ยคะ ก็อย่างที่อย่างที่น้องโบว์บอกในที่นี้ก็คืออ่าไปฝึกงานเนี่ย เรื่องเงินเดือนไม่ต้องห่วงเรื่อง เรื่องเงินผลตอบแทนไม่ว่าจะฝึกที่ไหนมันเท่ากัน เพราะว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลคุ้มครองเค้าก็กำหนดนะคะเพราะว่าเราไปฝึกงานแบบถูกกฎหมาย ก็แต่ว่าการได้เรียนรู้เนี่ย แนะนำเหมือนที่น้องโบว์บอกว่าเราไปอยู่ที่สวิสทั้งทีเนี่ยเราควรไปฝึกงานหลากหลายนะคะ หลากหลายองค์กร เราจะได้เรียนรู้หลายๆ ด้านนะคะ
York: ทีนี้เวลาฝึกงานเนี่ย ถามนิดนึงว่าปกติเนี่ยทำงานเนี่ยจะทำสัปดาห์ละกี่วันคะ
น้องโบว์: สัปดาห์ละ 5 วันค่ะ
York: ก็คือตอนทำร้านอาหารก็ 5 วันเหมือนกันใช่ไหมคะ
น้องโบว์: 5 วันเหมือนกันค่ะ .
York: เพียงแต่ว่าหยุดวันไหนก็คือแล้วแต่ที่เค้าจัดให้ถูกไหมคะ
น้องโบว์: ใช่ค่ะ แต่ว่าอย่างหนูเนี่ย หนูปี 2 เคราะห์ดีนิดนึงตรงที่ว่าคือเจ้าของร้านอ่ะค่ะเค้าให้หนูเป็นคนจัดตารางเองได้เลยค่ะ หนูก็เลยสามารถแบบจัดตารางได้เลยแบบคุยกับเพื่อนว่าเราจะเอายังไง ซึ่งมันก็ทำให้เราได้แบบ manage เวลาได้ เวลาแบบว่าถ้าเราเป็น Manager หรือเป็นอะไรเงี้ย เราจะต้องแบบ manage เวลาแล้วก็มาคุยกับเพื่อนว่าอยากหยุดวันไหนกันมั้ย เราก็จัดตารางเข้างานกันกี่โมงคละๆ กันไปอะไรอย่างเงี้ยค่ะ อันนี้สำหรับปี 2 เพราะว่ามันเป็นร้านอาหารอย่างที่บอกว่ามันเป็นแบบ Family business มันก็เลยไม่ได้แบบเคร่งเครียดมากไม่ได้แบบ strict อะไรมากมายอ่ะค่ะ แต่ว่าจากกฎเขามันต้อง 5 วันอยู่แล้วที่เราทำงาน แล้ว 2 วันหยุดค่ะ
พี่กิ๊ก B.H.M.S: เขาจะให้ holiday แบบ paid holiday ให้เราทีหลังใช่ไหมจ้ะน้องโบว์
น้องโบว์: Holiday คือเราสามารถเลือกได้ค่ะ สมมุติอย่างเช่นตอนเหนูก็คิดว่าปีนี้หนูมีแพลนว่าหนูจะไปเที่ยวกับเพื่อนก่อนที่เพื่อนจะกลับประเทศ ก็เค้าสามารถเลือกได้ว่าเราจะ take holiday เลยไหม เราก็สามารถบอก Manager ก่อน 1 เดือนหรือแบบก่อนหน้าค่ะ ว่าเราอยาก take holiday นะ หรือ ถ้าเราไม่ take holiday เนี้ย ก็เราสามารถเลือกไปtakeตอนจบได้ว่าใกล้ๆจบเนี่ยเราขอ take ไปเลย เพราะว่าเขาให้ holiday ได้ 2 weeks ก็คือแบบบอกไปเลยว่าฉันขอ holiday ตอนใกล้ๆ จบนะเพื่อเก็บของกลับไทย เพื่อเก็บของกลับบ้านอะไรฟีลเนี้ยค่ะ มันก็ได้เหมือนกัน
พี่กิ๊ก B.H.M.S: งั้น Holiday ก็ยังได้เงินเนาะ เค้าไม่ได้หักเงินเดือนเราใช่ไหมจ้ะ
น้องโบว์: ไม่ค่ะ
York: Holiday เนี่ยเค้าให้ประมาณกี่วันคะ ที่เค้าให้เรา
น้องโบว์: เค้าให้ 2 weeks ค่ะ ต่อการฝึกงาน 6 เดือน
พี่กิ๊ก B.H.M.S: ให้ตามกำหมายสวิสถ้าเกิดเราฝึกงาน 6 เดือน อันนี้คือขอเสริม ก็คือ 1 ใน intensive เค้าจะให้ paid holiday 14 วัน ก็คือ 2 สัปดาห์ที่น้องโบว์บอก แต่ที่นี้เราจะเลือกหยุดยาวไปเลย 14 วัน หรือเราจะแบ่งหยุดก็แล้วแต่เราคุยกับนายจ้าง เพราะว่าอันนี้เราก็ต้องปรึกษานายจ้างด้วยว่าให้เราหยุดในช่วงไหน อะไรแบบนี้
อ่านบทสัมภาษณ์ตอน 3 ต่อได้ที่ link ด้านล่างนี้เลยนะคะ
(ตอน3) live สดกับน้องโบว์ เรียน + ฝึกงานตลอด 3 ปีที่เรียน BHMS ในสวิตเซอร์แลนด์